21 กรกฎาคม 2010 thumb ความสง่าของผู้บำเพ็ญ

พระธรรมโอวาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ :

วันนี้ทุกท่านเข้าสู่ประตูของพระพุทธะ พระโพธิสัตว์แล้ว เรากำลังฝึกเจริญรอยตามแบบอย่างพุทธะโพธิสัตว์ เพื่อที่จะสำเร็จเป็นพุทธะโพธิสัตว์ในอนาคต…

แม้ยามนั่งมีพลัง ตัวตรงดั่งระฆังคว่ำ
สำรวมสง่างาม ไปตามอย่างปราชญ์เมธี

การนั่งต้องนั่งตัวตรงดุจดั่งระฆัง ขอให้ทุกท่านแสดงธรรมออกมา เมธีล้วนมีปัญญาและมีธรรมอยู่แล้วในตัว…
ระฆังคว่ำ นั่งอย่างไร ?
นั่งตัวตรง ดูแล้วสง่างาม มีความหนักแน่น มีพลัง ใช่หรือไม่
เราต้องนังอย่างสำรวม ทั้งกิริยา วาจา ท่าทาง นั่งฟังธรรมด้วยใจสงบ เมื่อภายในสงบ ภายนอกก็จะสำรวม หากเป็นเช่นนี้ได้ มองดูแล้วจึงจะเป็นปราชญ์เมธีที่แท้จริง

ยืนตรงสนคงมั่น มิไหวหวั่นสง่าศรี
พลีงเที่ยงตรงมี ดั่งรพีมิเอนเอียง

การยืนนั้นจะต้องยืนให้ตัวตรง ขอให้ทุกท่านยืนขึ้น สนนั้นแม้จะผจญกับความหนาวเหน็บลมพายุเช่นใด ก็จะมีความหนักแน่นเที่ยงตรง ยามมีลมแล้วยืนยืดอกอย่างสง่างามผ่าเผย มองดูแล้วน่าเกรงขาม ไม่หวั่นไหว มีจิตใจที่เที่ยงตรง มีความสุขุมเยือกเย็นภายใน มีความเที่ยงตรงดั่งรพี
รพี คือ ดวงอาทิตย์ ที่มีความเที่ยงตรง หากดวงอาทิตย์นั้นเอนเอียงไม่มีความเที่ยงตรงแล้ว โลกนี้ก็จะเกิดความวุ่นวาย ใช่หรือไม่ ?
ไม่ว่าจะอยู่ทิศใด พระอาทิตย์ก็จะสาดส่องสว่างด้วยความเที่ยงตรง มีพลังภายในเต็มเปี่ยม นับว่าเป็นปราชญ์เมธีที่แท้จริง
ทุกท่านนั่งลงก่อน นั่งอย่างไร ธรรมะต้องปฏิบัติตามไปด้วย จึงจะเป็นธรรมะที่แท้จริง

ยามเดินเหินกายเบา ทิศทางเล่ามิบ่ายเบี่ยง
เป้าหมายมิเอนเอียง ใจตรงเที่ยงในทุกกาล

การเดินนั้นจะต้องมีความเที่ยงตรง มีเป้าหมาย มีทิศทาง มิใช่เดินอย่างเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย มีน้ำหนัก มีพลัง แฝงไว้ด้วยความเที่ยงตรง กายนั้นเบา เท้าเบามิมีเสียง แต่มีพลังความหนักแน่นอยู่ภายใน
ความเที่ยงตรงในใจนั้นหากเรามี เส้นทางการเดินของเรานั้นก็จะเที่ยงตรง หากใจเรานั้นเอนเอียงการเดินเหินของเรานั้นก็จะเอนเอียง ไร้ทิศทาง ไม่มีความเชื่อมั่น
อย่างนี้การบำเพ็ญธรรมของเราก็ต้องเสื่อมไป…

สุชนยามเอ่ยคำ มีน้ำหนักกล่าวฉะฉาน
พูดคำสัทธรรมมั่น ไร้วิวาทคำนินทา

เราเป็นผู้บำเพ็ญ ในระหว่างที่เรานั้นฝึกฝน คำพูดเราควรระวังหรือไม่ ?
คำพูดต้องพูดออกมาล้วนเป็นคำสัจธรรม ส่งเสริมให้กำลังใจผู้อื่น เป็นสัจธรรมที่สั่งสอนชี้แนะผู้อื่น จะต้องมีน้ำหนัก มีความฉะฉานในคำพูด คำพูดนั้นจะไม่มีคำนินทา จะไม่กล่าวร้ายว่าร้ายผู้อื่น หรือพูดคำหยาบต่อผู้อื่น
ฝึกบำเพ็ญจะต้องสำรวม ระมัดระวังคำพูด เพราะคำพูดหนึ่งคำนั้น หากเราพูดผิดไปแล้ว ก็มิอาจที่จะย้อนหวนคืนมาได้ เรายิงศรออกไปแล้ว หากไม่ระวังก็ผิดทิศทางเป้าหมาย อาจจะไปปักกลางใจของผู้ใดผู้หนึ่งให้เกิดความบาดเจ็บ เกิดเป็นความเคืองแค้น อย่างนี้เท่ากับเรานั้นไปเกี่ยวกรรมกับบุคคลอื่น
คำพูดของเรานั้น ก่อนพูด…เราควรคิดก่อน 3 ครา คิดครวญใคร่แล้วเป็นคำพูดที่บริสุทธิ์ เป็นคำพูดที่งดงามแล้วจึงเอ่ยออกมา อย่าใจร้อนให้คำพูดนั้นออกมาก่อน
ควรให้ใจนั้นเป็นประธานของวาจา อย่าให้ปากนั้นเป็นประธานของใจ ต้องฝึกฝนเช่นนี้

ยิ้มงามดั่งจันทร์ฉาย ส่องชนด้วยใจเมตตา
อ่อนโยนรักกรุณา ส่อแววตามิตรไมตรี

เมธีลองยิ้มออกมา มานึกถึงว่าวันนี้เราฟังสัจธรรมแล้วมีความสุข รอยยิ้มนั้นจะต้องเป็นรอยยิ้มที่บริสุทธิ์ ออกมาจากใจอย่างแท้จริง งดงามดุจดั่งดวงจันทร์ ในแววตาแห่งรอยยิ้มนั้นเป็นความรัก ความเมตตา เต็มเปี่ยมไปด้วยความกรุณา แผ่รัศมี แผ่ไอความดีให้กับบุคคลอื่น เมื่อบุคคลใดเห็นรอยยิ้มของเราแล้ว ทำให้เขาสดชื่น ทำให้เขาจากมีความทุกข์แปรเปลี่ยนเป็นไร้ทุกข์ได้หรือเปล่า หรือว่าเห็นหน้าเราแล้วยิ่งทุกข์กว่าเก่า หรือเปล่า

เราบำเพ็ญธรรม ด่านแรกของเราก็คืออะไร ด่านต้อนรับต้องมีสิ่งใด หากผู้ที่ต้อนรับเราเมื่อเราไปถึงบ้านใคร เขาไร้รอยยิ้ม แล้วเรามีความรู้สึกเช่นไร แล้วเราสังเกตรอยยิ้มเขาได้หรือเปล่าว่าเขามีความจริงใจหรือเสแสร้ง
รอยยิ้มผู้บำเพ็ญจะต้องฝึกฝนหรือเปล่า รอยยิ้มที่แท้จริงออกมาจากไหน หากจิตใจยิ้ม หากจิตใจมีเมตตา หากใจมีความรักต่อเวไนย์ หากใจมีแต่คิดมองโลกในแง่ดี หากเรามีใจมีแต่จิตสำนึกคุณ รอยยิ้มที่ออกมาจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักที่แท้จริง จะไม่มีการเสแสร้งใดๆ ทั้งสิ้น
เราเคยมองดวงจันทรายามค่ำคืนหรือไม่ เวลาเต็มดวงแล้วจะมีความรู้สึกยังไง สวยงามเยือกเย็นอร่าม อบอุ่น มีพลัง มีรัศมี มีความสง่า

อีกอย่างหนึ่งก็คือการกระทำผู้บำเพ็ญนั้น กิริยา วาจา การกระทำทุกอิริยาบถ จะต้องมีธรรมะด้วยหรือไม่ ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง พูดจา รอยยิ้ม กิริยา ท่าทาง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :

  • ธาตุทั้ง 5 ต่างมีมุมกลับอีกด้านที่สวนกัน เราควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และควบคุมให้พอเหมาะ เพื่อให้สำแดงด้านดีหลีกเลี่ยงด้านลบ ธาตุไม้ ด้านบวก เมตตา กรุณาใจกว้างอารีเป็นคุณสมบัติของเมตตา ...

  • ใจคือจุดก่อเกิดกำเนิดหมื่นธรรมขันธ์ จึงควรที่จะเรียนรู้ต่อการทำในสิ่งที่มีคุณประโยชน์ ก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ดี ข้อที่ 1. ญาณแห่งใจ รู้ว่าคำพูดใดจริงเท็จ รู้เจตนาว่าดีหรือชั่ว รู้ว่าเรื่อง ...

  • คนทั่วไปคิดว่าอะไรก็ตามหากมีมากได้เป็นดี แต่ไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้วจะต้องคอยระวังอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้มากเกินเลยขอบเขต เพราะนั่นจะกลับกลายเป็นการทำลายกายและใจแทน ครุ่นคิดมากไป อันตรายต่อวิญญ ...

  • กังวล   หวาดกลัว ยินดี โมโห ครุ่นคิด โศกเศร้า  จะต้องปรับให้สมดุล จึงจะไม่ทำลายกายใจ  เผ็ด เปรี้ยว หวาน ขม เค็ม รสชาดทั้ง 5 นี้จะต้องให้พอเหมาะจึงจะสามารถรักษาสุขภาพได้ 1.  ความกังวลทำลายปอด ควา ...

  • รดชาดทั้ง 5 สามารถปรุงปรับให้สมดุลกับร่างกาย โดยเฉพาะการดื่มกินในชีวิตประจำวัน อย่าเพราะความอยากแล้วทำให้รดชาดทั้ง 5 ขาดความสมดุล จะกลายเป็นทำลายร่างกายแทน เค็มจัด... มีผลต่อเลือด กินเค็มมา ...

Tags:
225 views

Leave a Reply