28 กรกฎาคม 2010 thumb 2. ให้ตนได้กลับคืนสู่ศูนยตาแต่เดิมมา

พระพุทธจี้กง :

ดังนั้น การรวมกันของ ญาณ ใจ กายนี้ ก็คือ “ศูนยตา” ศูนยตานี้เป็นตัวแทนสรรพสิ่ง ส่วนความว่างเปล่านั้นมิใช่ศูนยตาหรอกนะ ! พวกเจ้ามักจะพูดว่า “จิตใจ จิตใจ” ในขณะที่ใจดวงนี้ยังไม่เกิด ความนึกคิดใดๆขึ้นมา นั่นก็คือ ธรรม คือแก่นแท้ เจ้ามักจะพูดว่า เจ้ามีความนึกคิดมากมาย มีความคิดต่าง ๆ นานา ก่อนที่ความนึกคิดนี้จะก่อเกิดขึ้น นั่นก็คือจิตญาณเดิม สิ่งนั้นเป็น “ศูนยตา” หรือไม่ ? ฉะนั้น ในขณะที่ อาจารย์ถ่ายทอดธรรมกำลังเจิมจุดเบิกธรรมให้กับเจ้าทั้งหลาย บอกให้เจ้าเพ่งมองไปที่พุทธประทีป ในเวลานั้น เจ้ามองเห็นอะไร ? เจ้ากำลังคิดอะไรอยู่ ? ไม่มี หากว่าไม่มีละก้อ นั่นก็เท่ากับว่าเกิด “ภาวะ” แล้ว ฉะนั้น ศูนยตาก็คือภาวะ ภาวะก็คือศูนยตา มันก็แยบยลอย่างนี้แหละ หากว่าเจ้ายึดติดมันแล้ว จิตใจก็จะคับแคบลง หากว่าเจ้าไม่ยึดติดมัน ความว่างเปล่าของห้วงอวกาศนั้นก็คือภาวะ สิ่งที่เป็นความฝันมายาเหล่านี้ ไม่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพในจิตใจได้ หากว่าทุกขณะจิตเจ้าสามารถนำความว่างเปล่าแห่ง จิตใจออกมาได้ เมื่อนั้นเจ้าก็คือผู้ที่มั่งคั่งที่สุดในโลกแล้ว

ศิษย์ทั้งหลายเจ้าต่างก็รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่จีรังยั่งยืน แต่ก็ไม่รู้จักเอาสิ่งที่อยู่ในความฝันนี้ สลัดทิ้งไป ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเวียนว่ายในคติหกอย่างไม่หยุดหย่อนก็เพราะความคิดเพียงอย่างเดียว บำเพ็ญธรรมจะต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่า “ธรรม” นี้มีไว้ให้คนได้หลุดพ้น มิใช่เป็นการฝากบอกต่อๆ กันไป ดังนั้นจะต้องหมั่นไปทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่าสิ่งใดเป็นของจริงแท้ ? สิ่งใจเป็นมายาลวง ? เมื่อใจเดิมของเจ้าติดพันยึดเหนี่ยวกับความคิด ก็เปรียบเหมือนกับพวกเจ้านอนหลับตอนกลางคืน เจ้าฝันบ้าง หรือเปล่า ? ฝันสิ ! นั่นเป็นเพราะว่า ในตอนกลางวันนี้คอยแต่รับเข้ามาไม่หยุด เก็บสะสมไว้ในห้วงความคิด พอตกดึกมันก็ฉายภาพเหล่านั้นออกมา ดังนั้น ญาณเดิมจึงไม่สามารถทำงานได้ เพราะถูกกีดกันไปด้วยความ คิดที่คอยแบ่งแยกจนละเอียดยิบทีเดียว

ดังนั้นหากใจคนไม่สามารถรวมเป็นหนึ่ง ณ ตรงกลางได้ ก็ยากที่จะทำสิ่งใดได้ประสบความสำเร็จ หากสามารถรวบรวมเป็นหนึ่ง ณ ตรงกลางได้ ก็ย่อมประสบความสำเร็จในทุก ๆ เรื่อง สามารถทำให้จิตญาณ เดิมนี้กลายเป็นเจ้านายของตัวเจ้าเองได้ เมื่อเจ้าก็จะสามารถบงการตัวเองได้ เจ้าก็จะสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสมดุลย์

อาจารย์มักจะนำมหาสมุทรมาเปรียบเทียบกับหนึ่งจุดแห่งความสงบนั้น ซึ่งเป็นความวิสุทธิ์สงบที่สุด เป็นความเสรีที่สุด เปรียบเสมือนปลาที่แหวกว่ายอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก มันเป็นอิสระเสรีใช่ไหม ? เพราะว่ามัน ไม่ต้องเผชิญกับคลื่นลมพายุที่โหมกระหน่ำหรือแสงอาทิตย์ส่องกระทบ ดังนั้น ณ จุดนั้นที่ลึกที่สุด ก็คือตัวเจ้า แต่เดิมมา เจ้ามาจากไหน ก็ให้กลับไปที่นั่น เจ้าสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่ตรงนั้นได้ สถานที่ตรงนั้นก็คือแดนสุขาวดี แล้ว เข้าใจไหม ?

บางทีอาจจะเป็นเพราะศิษย์ไม่สามารถอยู่ ณ ตรงนั้นได้ตลอดเวลา มักจะออกไปวิ่งเล่น เล่นจนเนื้อตัว มอมแมม จึงต้องเรียกให้พวกเจ้ากลับมาชำระล้างอยู่เสมอ ก็เปรียบเหมือนกับพวกเจ้าสวมเสื้อผ้าสกปรกกลับมา คุณแม่ก็เรียกให้เจ้ามาเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำ พวกเจ้าก็เบื่อที่จะฟัง เบื่อความยุ่งยาก ดังนั้นจึงทำให้เจ้าสำรวมใจ ไม่ได้ คนในปัจจุบัน มักชอบออกไปวิ่งข้างนอก ชอบโลกที่มีสีสันนี้ จิตญาณของพวกเจ้าก็ต้องตามร่างกาย นี้ออกไปวิ่งเล่นด้วยใช่หรือไม่ ? นี่เป็นเพราะไม่สามารถสำรวมไว้ ณ จุดนั้นได้ เมื่อสำรวมไม่ได้ ก็ไม่สามารถ ค้นพบตนเองแต่เดิมมา ไม่สามารถเป็นนายของตนเองได้ จึงถูกคนปลอมจับมัดไว้โดยง่าย

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :

  • พระพุทธจี้กง : ไม่ว่าเรื่องราวใด ๆ ก็ตาม ต้องดูว่าพวกเจ้าใช้จิตใจเช่นไรไปจัดการกับมัน ก่อนที่เจ้าจะตักเตือน ผู้อื่น ก็ต้องคิดถึงหัวอกเขาก่อน เรื่องราวแบบนี้เขาจัดการเช่นนี้ เขาย่อมจะมีเหตุผลส่ว ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์เอ๋ย ! การบำเพ็ญธรรมจะต้องรู้จักคำว่า “เห็นใจ” มิใช่สักแต่ใช้ “ใจ” ไปพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจะต้องใช้สิ่งใดเพื่อให้ตนรู้ตื่นเล่า? นั่นคือ “จิตญาณ” ใช่หรือไม่ ? ในร่าง ...

  • พระพุทธจี้กง : มนุษย์เอ๋ย ตอนอายุยังไม่ถึงสามสิบก็นอนไม่ตื่น หลังอายุสามสิบไปแล้ว ก็นอนไม่หลับ เพราะอะไร ? เพราะว่าเครื่องพันธนาการนี้มันหนักอึ้ง คนเราไม่อยากออกบวช แต่ก็ต้องบำเพ็ญธรรม พอพูดถึง ...

  • พระพุทธจี้กง : หวังว่าเมื่อมีชั้นประชุมธรรมศิษย์ทั้งหลายจะมาเข้าร่วม หากสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนี้มีสักประโยค สองประโยคที่สามารถทำให้พวกเจ้าหลุดพ้นได้หล่ะก้อ นับว่าเป็นที่น่ายินดีแล้ว ดังนั้ ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลาย บารมีธรรมของพวกเจ้าในยามที่อยู่กับบ้านเป็นเช่นไร ? อาจารย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พวกเจ้าหลอกอาจารย์ไม่สำเร็จหรอก ดังนั้น มนุษย์นี้ต่างก็เสแสร้งหลอกลวงกัน เวไนย์ทั้งหลา ...

487 views

Leave a Reply