28 กรกฎาคม 2010 thumb 4. เรียนรู้การปล่อยวางเพื่อมองเห็นตนเองได้อย่างชัดเจน

พระพุทธจี้กง : 

ศิษย์เอ๋ย ! จะต้องระมัดระวังเวลาที่คนอื่นเขาเชิดชูเจ้าไว้อย่างสูงส่ง จะต้องระวังคำชมเชยที่มีต่อตัวเจ้า เมื่อเจ้าได้รับคำชมเชย เมื่อผู้อื่นเชิดชูเจ้า เจ้ายิ่งต้องระวังตน ยิ่งต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เจ้าจึงจะไม่ถูกลักษณะจอมปลอมนี้ล่อลวงเอาได้ และไม่ส่งผลร้ายต่อตนเอง

คนทุกคนต่างแสวงหาการยกย่อง ใช่หรือไม่ ? หากว่าเจ้าไม่สามารถขจัดความยโสโอหัง ความทะนงตนออกไปได้ เจ้าก็จะเกิดการแบ่งแยก เมื่อใจเกิดการแบ่งแยก ก็เกิดภาวะปรปักษ์กัน เจ้าก็จะ เข้าใจว่าวันนี้ที่ตัวข้าดำรงตำแหน่งนี้ ทุกคนจะต้องฟังข้า ในการทำงานหากเกิดภาวะแบ่งแยกปรปักษ์เช่นนี้ ก็ย่อมจะเกิดคำนินทาครหาได้

พึงรู้ไว้ว่า เมื่อบำเพ็ญจนถึงที่สุดแล้วต้องกลับคืนสู่ที่ต่ำ (สามัญ) เพราะว่าธรรมอยู่ ณ ที่ต่ำ แน่น่อนว่า พวกเราทุกคนปรารถนาจะก้าวหน้าสูงส่ง แต่ว่าแต่ละก้าวที่เจ้าก้าวสูงขึ้นนั้น หากเท้าก้าวนั้นไม่มั่นคง บำเพ็ญธรรมไม่บำเพ็ญใจ ไม่ย้อนมองส่องตน ก็เปรียบเสมือนพิมพ์คอมพิวเตอร์ แม้จะพิมพ์ด้วยความเร็วสูง แต่ก็มีคำผิดตามมามากมาย ดังนั้นต่อให้วันนี้เจ้าปีนได้อย่างรวดเร็ว ชั่วประเดี๋ยวเดียวผู้อื่นก็เรียกเจ้าว่านัก บรรยาย เรียกเจ้าว่าอาจารย์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเจ้ามิได้เป็นอย่างที่เขายกย่องกัน เมื่อเจ้าไม่ได้เป็นดั่งที่ เขายกย่องกัน ดวงตาทุกคู่ที่จ้องมองเจ้า มือทุกมือที่ชี้มายังเจ้า สักวันหนึ่งข้อบกพร่องก็ย่อมปรากฎออกมาให้ ทุกคนได้เห็นขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ช่างอันตรายยิ่งนัก

ดังนั้นอาจารย์จึงหวังว่าศิษย์ทั้งหลาย จะเริ่มบำเพ็ญธรรมจากใจตน และใจย่อมปรากฎออกมาจาก ญาณ จึงจะสามารถสยบใจที่ไร้สมดุลย์ได้ ศิษย์ทั้งหลายอย่าใช้ใจปุถุชนไปแบ่งแยกผู้อื่น และอย่าใช้ใจเลือดเนื้อ นี้ไปจดจำสิ่งที่สกปรก เรื่องราวที่ไม่สบายใจ ควรจะใช้ใจบริสุทธิ์ไปจัดการเรื่องราว ใช้ใจเมตตาไปส่งเสริม เรื่องราวที่ดีงาม ปกโปรดเวไนย์ทั้งปวง ใช้ใจมุทิตาอุเบกขาในการดูแลห่วงใยผู้อื่น ห่างไกลจากภาวะปรปักษ์ ทั้งปวง

อาจารย์หวังว่าพวกเจ้าจะสร้างเสริมหลักจริยธรรมในอาณาจักรธรรมให้มั่นคงยิ่งขึ้น อาจารย์ถ่ายทอด ธรรมก็ควรจะมีบุคคลิกภาพของการเป็นอาจารย์ถ่ายทอดธรรม นักบรรยายก็ควรมีบุคคลิกภาพของนักบรรยาย พวกเจ้าก็ควรจะมีแบบอย่าง จึงจะสามารถสร้างอาณาจักรแห่งการบำเพ็ญได้ แม้ว่าในหนทางการบำเพ็ญที่ ผ่านมา ทุกคนได้อุทิศเสียสละ ทุกคนมีความขยันมัธยัสถ์ ต่างคนต่างลำบากเหนื่อยยาก แต่ว่าหากยังเกิดจิต ใจแบ่งแยกขึ้น ย่อมทำให้เกิดข้อพิพาท และก็จะไม่สามารถพบเจอ “ธรรม” ได้ชั่วนิรันดร์

ศิษย์ทั้งหลายมายังพุทธสถานเพื่อค้นหาความวิสุทธิ์สงบหรือ ? ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อพวกเจ้ามาถึง พุทธสถานก็จะต้องปล่อยวางความคิดฟุ้งซ่านออกไปเสีย ทำใจให้บริสุทธิ์ เพราะว่ามีเพียงการหมั่นทำใจให้ บริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะสามารถมองเห็นตนเองได้อย่างชัดเจน มิฉะนั้นแล้ว ก็จะไม่รู้ว่าตนเองนั้นเดินอยู่บนเส้น ทางไหนกันแน่ ? ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเองได้

เวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า ศิษย์ทั้งหลายเคยคิดหรือไม่ว่า ในหนึ่งปีมานี้ พวกเจ้าทำไปได้เท่าไร ? ก้าว หน้าเพียงไหน ? หากศิษย์ไม่เคยคิดถึงคำพูดเหล่านี้มาก่อน แล้วเจ้าจะตอบตนเองในเรื่องการบำเพ็ญปฏิบัติ ได้อย่างไร ?

ดังนั้นทุกคนจะต้องเข้าใจว่า หนทางการบำเพ็ญนั้นขรุขระ ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่แน่นอน ในเมื่อหนทางขรุขระ แล้ว ควรจะทำอย่างไรให้ถนนสายนี้ราบเรียบ ? จะทำอย่างไรจึงจะสามารถเดินไปจนสุดปลายถนนได้ ?
จะต้องเริ่มจากการทำใจดวงนี้ให้สมดุลย์เสียก่อนใช่หรือไม่ ? ดังนั้นจึงต้องหมั่นบำเพ็ญใจ ปรับเปลี่ยนใจ เมื่อเจ้าโกรธแค้น เสียสมดุลย์ เจ้าจะต้องปรับใจดวงนี้ให้ได้ ปรับให้มันกลับคืนไปอยู่ ณ หนึ่งจุดตรงกลาง รู้ไหม ?

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :

  • พระพุทธจี้กง : มนุษย์เอ๋ย ตอนอายุยังไม่ถึงสามสิบก็นอนไม่ตื่น หลังอายุสามสิบไปแล้ว ก็นอนไม่หลับ เพราะอะไร ? เพราะว่าเครื่องพันธนาการนี้มันหนักอึ้ง คนเราไม่อยากออกบวช แต่ก็ต้องบำเพ็ญธรรม พอพูดถึง ...

  • พระพุทธจี้กง : ดังนั้น การรวมกันของ ญาณ ใจ กายนี้ ก็คือ “ศูนยตา” ศูนยตานี้เป็นตัวแทนสรรพสิ่ง ส่วนความว่างเปล่านั้นมิใช่ศูนยตาหรอกนะ ! พวกเจ้ามักจะพูดว่า “จิตใจ จิตใจ” ในขณะที่ใจดวงนี้ยังไม่เกิด ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์เอ๋ย ! การบำเพ็ญธรรมจะต้องรู้จักคำว่า “เห็นใจ” มิใช่สักแต่ใช้ “ใจ” ไปพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจะต้องใช้สิ่งใดเพื่อให้ตนรู้ตื่นเล่า? นั่นคือ “จิตญาณ” ใช่หรือไม่ ? ในร่าง ...

  • พระพุทธจี้กง : สิ่งที่อาจารย์พูดมานั้น เป็นเรื่องการเกิดตายที่ขึ้นอยู่กับตนเอง ตนเองจะต้องเป็นผู้เข้าถึงการ เกิดตายนี้ คนอื่นไม่สามารถทำแทนเจ้าได้ ขอเพียงถามใจเจ้าเองว่า เจ้าได้ลงมือกระทำหรือยั ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลายพวกเจ้ากราบไหว้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ทุกวัน พวกเจ้ามีปณิธานยิ่งใหญ่ดั่ง พระองค์หรือไม่ ? ศิษย์เอ๋ยลองคิดดูสิว่า การบำเพ็ญต้องเริ่มลงมือจากตรงไหน ? เริ่มจากความจริงใ ...

547 views

Leave a Reply