3. จริยธรรม

จริยธรรม  ( 禮 ) หลี่

ทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่า จริยธรรม
คือ การแสดงความเคารพ มรรยาท ความสุภาพ ความปรพฤติปฏิบัติที่ดีต่อจึงสอนให้มนุษย์ทุกคนต้องมี จริยธรรม 礼 หลี่กัน

โดยปกติมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า ในช่วงก่อนสองพันกว่าปีมาแล้ว ปราชญ์ขงจื้อสอนมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สังคมร่มเย็น ท่านขงจื้อ

จริยธรรมครอบคลุมความสัมพันธ์ของมนุษย์ไว้ถึงสามระดับ คือ

1. กษัตริย์กับขุนนาง
2. บิดากับบุตร
3. สามีกับภริยา

การบริหารประเทศที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากมาย ต้องใช้ศิลปะเปรียบเหมือนกัน ทอดปลาตัวน้อย ๆ จงอย่าพลิกปลาบ่อยครั้งเพราะจะทำให้เนื้อปลาหลุดลุ่ยออกได้ การบริหารประเทศหากก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่ประชาชนมากนักย่อมทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ผู้ปกครองแผ่นดินจะบริหารทั้งขุนนางและราษฎร ได้ย่อมต้องปกครองแผ่นดินโดยธรรม ประชาชนย่อมสงบร่มเย็นเป็นสุข การบริหารประเทศสมควรใช้มรรยาทนอบน้อมถ่อมตนเป็นสำคัญ เหมือนดั่งมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่อยู่เบื้องต่ำ
เป็นศูนย์รวมของธาราใหญ่น้อยมากมายที่ไหลมาบรรจบรวมกัน

ความสัมพันธ์ในครองครัว บิดามารดาย่อมเลี้ยงดูบุตรหลานเป็นอย่างดี ด้วยความเมตตาอ่อนโยนรักใคร่ ผู้เป็นบุตรหลานจึงต้องมีสัมมาคารวะ เคารพบิดามารดา เชื่อฟังคำสั่งสอน ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อดึง ครอบครัวจึงเกิดสุข

ความสัมพันธ์สามีกับภริยา ถ้าจะเปรียบกับคำสอนของท่านเหลาจื้อ ท่านสอนให้สำรวม ธาตุไฟ ในตัวตนโลกนี้อยู่ได้เพราะดวงอาทิตย์ให้ความร้อนความอบอุ่น และต้องพอดีพอเหมาะ จึงจะเกิดประโยชน์ ภายในกายของคนก็มีธาตุไฟ หากควบคุมให้อยู่ในความพอดี ย่อมทำให้พลังการขับเคลื่อนภายในเป็นเสมือนหนึ่งพลังงานมีความอบอุ่น ถ้าหากควบคุมมิได้ เกิดมากเกินไปย่อมเป็นไข้ หรือน้อยไปย่อมหนาวสั่น ความพอดีนั้นเป็นกลาง

เมื่อเทียบคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว ข้อจริยธรรมนี้ คือ กาเมสุมิจฉา โดยแท้ หากไม่ควบคุมกามตัณหา ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนจิตใจของผู้นั้น ใครที่ล่วงละเมิด ความเป็นกลาง ของจริยธรรม ย่อมส่งผลเสียหายไปถึง หัวใจ เพราะเป็นเสมือนหนึ่งไฟ เผาผลาญดวงใจให้เร่า
ร้อนอยู่เสมอ

มีตัณหา ย่อมก่อให้เกิด ความดีใจ และเสียใจเสมอ กามราคะ จึงเป็นเรื่องที่กำจัดและควบคุมยากที่สุด
ด้วยเหตุปัจจัยของอายตนะ 6 มี

รูปงาม
เสียงไพเราะ
กลิ่นเย้ายวนใจ
รสถูกปาก
สัมผัสนุ่มนวล
อารมณ์อ่อนไหว

การตัดกามตัณหา จึงมิใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะกระทำแต่ก็ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ การครองชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกัน จึงต้องสำรวมระวังมิให้ล่วงละเมิดลูกเมียคนอื่น เพื่อความสัมพันธ์ที่เป็นคุณแก่ตนเอง และผู้อื่นจึงต้องระมัดระวัง

ผู้ที่ล่วงละเมิดในข้อจริยธรรม จึงต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คือ ม้า เพื่อบำเพ็ญจริยธรรม เพราะลูกม้าตัวผู้จะไม่ล่วงเกินแม่ของมันเป็นอันขาด ชนชาติตะวันตกได้ทดลองเอาลูกม้าตัวผู้ ผูกตาแล้วให้อยู่กับแม่ของมันในฤดูผสมพันธ์ เมื่อลูกม้าขึ้นขี่แม่ เขาก็เปิดตาออก พอลูกม้าเห็นเป็นแม่ จึงลงจากหลัง วิ่งเอาหัวชนกำแพงตายทันที

รสชาติของอาหารที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ คือรสขมพืชผักที่ทำลายการทำงานของหัวใจหากบริโภคมากเกินไปคือกระเทียม เพราะกระทบกระเทือนธาตุไฟในกาย และกระตุ้นต่อมเพศทำงานมากเกินปรกติ

การบำเพ็ญจริยธรรมจึงประกอบด้วยมารยาท อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ มนุษย์ทุกคนมีความเคารพไม่ล่วงละเมิดต่อกัน จึงสามารถรักษาจิตของตนให้อยู่ในทางสายกลางได้ สังคมย่อมเป็นสุข

ห้ามผิดกาเม จะมีจริยธรรมไม่ละเมิด ดั่งไฟไม่รุกรานเผาไหม้

Leave a Reply