2. มโนธรรม

มโนธรรม ( 義 ) อี้

ทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่า มโนธรรม
มโน คือ ใจ
ธรรม คือ สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ
ความดี ความถูกต้อง

มโนกรรม คือการกระทำทางใจทางชั่ว มี โลภ โกรธ

หลง ซึ่งเกิดจากมโนทุจริต คือ ความประพฤติชั่วทางใจ มี
1. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
2. พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย
3. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม

ความประพฤติชั่วทางใจเหล่านี้จึงต้องแก้ไขด้วย “มโนธรรม” ความประพฤติ ชอบด้วยใจ อันเป็น
ทางสายกลางที่ศาสดาทั้งสาม มีพระพุทธเจ้า เหลาจื้อและขงจื้อ มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ต่างภาษาเท่านั้นเองว่า

ท่านเหลาจื้อ ให้บำเพ็ญธาตุทอง จิน 金
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญมโนธรรมสำนึก อี้
พระพุทธเจ้า ทรงให้เจริญศีล อทินนาทานา

ซึ่งหมายถึงการไม่เอาของผู้อื่นมโนธรรมสำนึกตรงต่ออวัยวะภายในตัวเรา คือ ปอด

ความหมายแห่งคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม แม้แตกต่างกันด้วยภาษาแต่ความเป็นจริงแห่งวิถีปฏิบัติแล้วเป็นเช่นเดียวกัน

การบำรุงเลี้ยงรักษาธาตุทอง ในตนเองย่อมทำให้สามารถผนึกลมปราณ ให้เป็นเอกภาพ และการควบคุมลมปราณจำเป็นอยู่เองที่ต้องอาศัย ปอด ที่แข็งแรง

ธาตุทองมีความหมายเป็นความแข็งแกร่ง และพลานุภาพ สามารถตอบแทนต่อสรรพสิ่งที่เป็นคุณแก่ตนเองได้

การไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของเราย่อมต้องอาศัยมโนธรรมสำนึกรู้ถึงความเดือดร้อนที่ผู้อื่นได้รับหากตนเองเห็นแก่ตัวหยิบฉวยของคนอื่นมาเป็นของตน เป็นการขจัดความเห็นแก่ตัวโดยแท้จริง จึงเป็นผู้เสียสละเพื่อคนอื่นได้ ตรงกับหัวข้อของการให้ทาน ซึ่งเป็นธรรมในการกำจัดกิเลสตัวโลภ นั่นเอง

ศีลข้อที่สอง อทินนาทานา ที่พระพุทธองค์ทรงเตือนให้สาธุชนทั้งหลายระลึกถึงคุณงามความดีของตนเองนั้น มิได้มีความหมายคับแคบอยู่แต่การที่ ลักขโมย เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเก็บของผู้อื่นได้ ยังต้องคืนเจ้าของมโนธรรมสำนึกนั้นมีความรู้สึกอยากตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ ดังนั้นการที่มนุษย์รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ ก็เพราะอานุภาพแห่งมโนธรรมสำนึกนี่เอง

ท่านศาสดาขงจื้อจึงสอนให้รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นอันดับแรก หากใครก็ตามที่ขาดความกตัญญูก็เท่ากับผิดต่อสัจจธรรมของฟ้าดินและโทษที่เขาได้รับนั้นย่อมไปเกิดเป็นสุนัข เพื่อให้บำเพ็ญกตัญญูรู้คุณ ในโลกนี้ สุนัข จึงเป็นสัตว์โลกที่รู้จักตอบแทนคุณเจ้าของเมื่อมนุษย์รู้จักกตัญญู ความเห็นผิดชอบชั่วดีย่อมตามมา รู้จักละความเห็นแก่ตัว จึงรู้จักที่จะให้อภัยผู้คนที่มาทำให้แค้นเคืองขัด เป็นที่มาแห่งการละกิเลสตัว โกรธ เพราะรู้จักละ โกรธ ได้ด้วยความรู้ผิดชอบชั่วดี ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็เพราะผู้คนนั้นมีสติ การมีสติ เป็นที่มาแห่งปัญญา จึงเป็นการกำจัดกิเลสตัว หลง ได้อย่างสิ้นเชิงฉะนี้แล

การบำเพ็ญ มโนธรรม ที่เป็นทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งมรรคผลนิพพาน

การบำเพ็ญ มโนธรรม เกี่ยวพันกับกาย สังขาร คือ ปอด

ความคิดฟุ้งซ่าน ย่อมทำให้ปอดใช้พลังงานมาก และเสียหายได้

พืชที่เป็นใบยาสูบ เป็นพิษต่อปอด คนที่สูบบุหรี่จึงคิดมาก ทำลายอานุภาพของปอด
และในที่สุดก็เจ็บป่วยสิ้นพลัง รสชาติของอาหารที่เป็นอันตรายต่อปอด คือรสเผ็ด

ถ้าพิจารณาจากวงจรของธรรมชาติจะเห็น มโนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ดวงอาทิตย์แผดเผาน้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำ จับตัวกันหนาแน่นจึงกลายเป็นเมฆ ครั้นเมฆลอยต่ำกระทบความเย็นก็กลั่นตัวเป็น น้ำฝน

น้ำฝนตกลงมาสู่แผ่นดินเกิดความชุ่มชื้น พืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงาม ทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ จนระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นไป

ต่างตอบแทนอาศัยซึ่งกันและกันจึงเป็นวงจรธรรมชาติที่งดงาม

มนุษย์ไม่ลักทรัพย์ ไม่ขโมย ถือเอาเป็นของตน ละโลภ จึงรู้ให้ทาน รักษาศีล

รู้ให้ทาน รู้จักตอบแทนบุญคุณ มีกตัญญู รู้อภัย จึงละโกรธ เพราะละโกรธ จิตแจ่มใส มีสติ ใจเบิกบาน ไม่มัวเมา หลง จึงมีปัญญา

ห้ามลักทรัพย์ มีมโนธรรม รักษาธาตุแห่งทอง ที่ไม่เปลี่ยนแปลง

Leave a Reply