ดับทุกข์ที่ใจ

หนึ่งในแปดเซียนท่านหลันไฉ่เหอ :

เวลาเจ็บท่านสามารถดับทุกข์ได้ รู้จักปลงสังขาร รู้จักหาหมอ นี่คือการดับทุกข์ง่ายๆ ชนิดหนึ่ง แต่ดับทุกข์นิรันดรที่ไม่ต้องเจ็บอีกต่อไปคือ การรู้แจ้งเห็นจริงไม่ทุกข์อีกต่อไป ทุกข์แต่กายแต่ใช่ที่ใจ นี่คือการรู้แจ้ง นี่คือการดับทุกข์ ท่านรู้ชัดมานานแล้ว แต่ยังขาดซึ่งการปฏิบัติจริง ปฏิบัติแจ้งและปฏิบัติอย่างแจ่มชัด “เกิด”ท่านสามารถเอาชนะการเกิดได้ด้วยการหยุดคำว่า “ต้องการ”ท่านจะหยุดการเกิดได้และจะสามารถเข้าใจคำว่า “รู้พอ” ได้เมื่อเป็นสุขในคำว่า “พอเพียงแล้ว”แล้ว “ดับ”ละ ท่านสามารถดับได้ครั้งหนึ่งแล้วสามารถ “ดับ”ได้ตลอดชีวิตเลยไหม นั่นก็คือการ “ดับที่ใจของตัวเอง” ใช่หรือไม่ ฉะนั้น ท่านสามารถเป็นผู้ที่สร้างสรรพสิ่งได้และท่านก็เป็นผู้ที่สามารถเป็นพุทธะได้อยู่ที่ว่าท่านได้ลงมือปฏิบัติ เห็นแจ้งและกระทำจริงหรือไม่ มนุษย์เรานอกจาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เป็นความทุกข์แล้ว เรายังมีอะไรเป็นความทุกข์อีก ไม่อยากฟังแต่ต้องทนฟัง ไม่รู้เรื่องแต่ต้องทนฟัง ทุกข์ใช่ไหม แล้วทำอย่างไรจึงจะหายทุกข์ได้ ลุกหนีไปเลยหรือ ก็เป็นเหตุหนึ่งที่แก้ได้เหมือนกัน แต่ท่านจะหนีตลอดชีวิตหรือ สิ่งที่จะทำให้เราสามารถชนะทุกข์ได้ ก็คือ กระโดดลงไปแล้วพยายามว่ายให้เป็นมนุษย์เราสามารถอยู่บนบกก็เดิน อยู่ในน้ำก็ว่ายน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็นก็สร้างเรือ อยู่บนฟ้าก็บินได้ สิ่งนี้เรียกว่าอะไรล่ะ สิ่งนี้เรียกว่าปัญญา
มนุษย์มีปัญญาในการอยู่ในโลกนี้ได้อย่างกลมกลืนสอดคล้องแล้วทำไมเราไม่ดึงปัญญานี้ เอาชนะทุกข์ที่อยู่ในใจท่านให้จงได้ อดทนไม่ได้ลองอดทนดู วันนี้เอาชนะไม่ได้พรุ่งนี้ลองใหม่ สักวันย่อมชนะได้แต่ก่อนที่เราจะเอาชนะสิ่งใด ต้องอย่าลืมว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมีกฎเกณฑ์และความเป็นไป หรือพูดง่ายๆ คือมีเหตุและมีผล เราจะเอาแต่แก้ที่ผลไม่ได้ ก่อนจะทำสิ่งใดจึงต้องระวังตั้งแต่การเกิดเหตุ แล้วเมื่อนั้นท่านจะไม่ต้องมีชีวิตแล้วพยายามเบียดบังแทรกแซงผลของชีวิต
เกิดเป็นคนรู้จักริเริ่มก็ต้องรู้จักหยุดเป็น ในเมื่อคนที่ทำให้ท่านทุกข์คือใจเราที่เปิดอ้า เขาว่าท่านไม่ดี ท่านเลว ท่านใจร้ายใจเราเปิดอ้าใจเรารับ ใจเราทุกข์ แต่ถ้าเกิดเขาว่าแล้วเป็นจริง ทุกข์แล้วรีบแก้ไขทุกข์นั้นจะกลายเป็นสุขใช่หรือไม่ แต่ถ้าไม่จริง จะแบกรับทำไม วางไว้ดีไหม เมื่อเริ่มต้นเป็นต้องรู้จักหยุดเป็น
ถ้าเราบอกว่าความสุขของเราคือความว่างเปล่า ความไร้ เข้าใจไหมท่านอิ่มใจและเต็มเปี่ยมใจก็ต่อเมื่อมีทุกๆ สิ่งถูกใจใช่หรือไม่ แต่ถ้าเมื่อไรมีสิ่งหนึ่งไม่ถูกใจ อีกเจ็ดสิ่งที่ถูกใจก็ยังทำให้ท่านทุกข์ เพราะว่าใจท่านไม่เต็มเปี่ยม ฉะนั้น สุขแท้จริงก็คือเปล่าไร้ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ครอบครัวต้องอยู่ร่วมกันจึงอบอุ่น แต่ถ้าวันหนึ่งขาดซึ่งคนใดคนหนึ่งก็ยังอบอุ่นไหม ยังอบอุ่นได้เหมือนกันนะ เพราะว่ามันเป็นสัจจะ ชีวิตอบอุ่นได้ไม่ต้องมีครบ บางครั้งขาดก็อบอุ่นได้ใช่ไหม คำว่า “อบอุ่นเราอย่ายึดเกินไปว่า เขาต้องเป็นอย่างนั้น เขาต้องเป็นอย่างนี้ แล้วจึงเรียกว่าอบอุ่น อบอุ่นที่แท้จริงก็คือการไม่กำหนดอะไรเลย พ่อแม่ก็เป็นพ่อแม่ เราอย่าหวังว่าพ่อแม่ต้องเป็นอย่างนั้น พ่อแม่ต้องเป็นอย่างนี้ถึงจะเรียกอบอุ่น ใช่ไหม
ครอบครัวอบอุ่นก็เป็นสุขใช่ไหม แต่ในความอบอุ่นนั้นเราอย่ายึดมั่นเกินไป เพราะบางทียึดมั่นเกินไปว่าต้องอบอุ่นธรรมดาๆ ก็อบอุ่นได้ใช่ไหม ที่พูดตรงนี้ก็เพื่อให้ท่านรู้ว่า บางครั้งอย่ายึดติดกับความสุขจนมากเกินไป ครอบครัวฉันต้องอยู่ร่วมกันแล้วจึงจะมีความสุข แต่ทำไมพออยู่ครบพร้อมหน้ากัน ถึงยิ้มไม่ออกล่ะ เพราะเห็นใจกันมากเกินไป เพราะรู้เช่นเห็นชัดกันเกินไป อยู่ครบก็เลยอบจนอุ่นใช่หรือเปล่าเราบอกว่าบางครั้งให้มีรอยยิ้มกันทุกคนสิ ดีที่สุด เขายิ้มเราก็ยิ้ม พ่อยิ้มเราก็ยิ้ม ไม่ใช่พ่อยิ้มเราบึ้ง เรายิ้มพ่อไม่ยิ้ม จริงๆ แล้วความสุขก็คือครอบครัวยิ้มกันหมดทุกคน

Leave a Reply