เมตตาธรรม ( 仁 ) เหยิน
ทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่าเมตตากรุณา
เมตตา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกมีความสุข
กรุณา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกพ้นทุกข์
ความทุกข์ของสัตว์โลกก็คือ ความทุกข์ของสรรพสัตว์ในโลก จะถือเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของตนเอง ความเศร้าเสียใจของสรรพสัตว์ จะถือเป็นเสมือนความเศร้าเสียใจของตนเอง ทุกข์เหมือนกันเศร้าเหมือนกัน ก็คือ ความเห็นใจในทุกข์และเศร้านั้น และจะช่วยหาวิธีให้พ้นจากความทุกข์โศกเศร้านั้น ๆ
ถ้าพิจารณา “เมตตา” อันเป็นทางสายกลางของศาสดาทั้งสาม ประกอบด้วยพระพุทธเจ้า เหลาจื้อ และขงจื้อ มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้นเอง คือ
ท่านเหลาจื้อ ให้บำเพ็ญ 木 (มู่) ธาตุไม้
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญ 仁 (เหยิน) เมตตา
พระพุทธองค์ ให้รักษาศีล ปาณาติปาตา เว้นจากการเบียดเบียนชีวิต ธาตุไม้ในตัวคน เมตตา ล้วนเป็นสิ่งที่สงบเยือกเย็นเป็นผู้ให้โดยปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้นเมตตาที่แท้จริงจึงประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด ๆ จะเป็นญาติหรือคนที่รักหรือชังล้วนได้รับความเมตตา
2. ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้ว หรือ ล่วงไปนานเท่าใดก็ยังเมตตา
3. ไม่ต้องการค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แม้เมตตาแล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา
4. ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูง ต่ำต้อย ยากไร้อย่างไรก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกัน
ความเมตตาเช่นนี้จึงมีค่า “ค้ำจุนโลก” ได้และมิได้ทำลายสรรพชีวิตใด ๆ เลย มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอกงาม ดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่สรรพสัตว์ทุกชีวิตโดยไม่ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใด ๆ ทุกชีวิตต่างได้รับอากาศ น้ำ อาศัย บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน เมตตาธรรมจึงนำพา “สันติสุข” ต่อตนเองและชาวโลก
ผู้คนที่ขาดเมตตาย่อมส่งร้ายต่อร่างกาย คนที่ไร้เมตตามักเป็นคนเจ้าโทสะ โมโหโกรธา ตับจะถูกกระทบกระเทือน ถ้าตับเสีย ย่อมส่งผลต่อการกรองของเสียออกจากร่างกาย ผู้ที่บำเพ็ญเมตตา จะกำจัดโทสะได้ ย่อมมีผลต่อร่างกายของผู้นั้น หน้าตาผ่องใสแย้มยิ้ม และเพื่อรักษาตับ มิให้กระเทือนรสชาติอาหาร จึงควรหลีกเลี่ยงรสเปรี้ยวจัด คือการดำรงกาย ด้วยวิถีทางสายกลาง เมื่อทั้ง กายและจิต อยู่ในเมตตาธรรม จึงมีพลานุภาพต่อสรรพชีวิตดั่งนี้
ไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต เพราะเรามีเมตตาธรรมคืนสู่ธาตุไม้ คงความเป็นไม้ที่ให้ความร่มรื่น