ปัญญาธรรม ( 智 ) จื้อ
ความหมายของคำว่า ปัญญาธรรม = ความรู้ทั่วไป , ปรีชา หยั่งรู้เหตุผล ความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจ หยั่งแยกในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการความรอบรู้ในกองสังขารมองตามความเป็นจริง
มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยปัญญาที่เลิศล้ำอยู่แล้ว ไม่มีใครโง่ ฉลาดกว่าใคร ดังคำพระวัจนะที่ว่า ธรรมญาณเท่ากันไม่มีใครมากน้อย น้อยกว่าใคร ฉะนั้นย่อมไม่มีใครปัญญามากกว่าใคร ดังที่พระสังฆปรินายกที่หกว่า “โพธิปัญญา” นั้น ทุก ๆ คนมีเหมือนกัน ความหลงต่างหากที่ทำให้แตกต่างกันและไม่รู้ จึงจำต้องสร้างเสริมความดีให้มาก จึงจะเกิดปัญญา พึงรู้ไว้ว่า คนโง่ คนฉลาด นั้นมีพุทธญาณไม่ต่าง
กันเลย ต่างกันที่หลงและตื่นเท่านั้น ที่ทำให้เกิดโง่ฉลาด อานุภาพแห่งปัญญาจึงแตกต่างกันไป ถ้าเปรียบไปแล้วเหมือนกับ น้ำ บางคนใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่บางคนกลับใช้ได้น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและมีความรู้เกี่ยวกับน้ำ
ปัญญาก็เช่นกัน บริสุทธิ์ปราศจากอารมณ์ทั้งปวง มิได้ทำให้ธรรมญาณหันเหไปสู่หกทางแห่ง ดี หรือ ชั่ว มีสภาวะแห่งความเป็นกลาง จึงทรงอานุภาพ สามารถตัดทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงให้สมาทานศีลข้อห้า มิให้จิตมัวเมาตกอยู่ภายใต้อำนาจของน้ำเมาทั้งปวง คนที่ถูกอำนาจน้ำเมา ยาเสพติดครอบงำย่อมขาดสติสัมปชัญญะ ทำให้คิดผิด ทำผิดและหลงผิดได้โดยง่าย
มนุษย์นั้นถูกอารมณ์ฉันทะบดบัง ทำให้มืด หลงอารมณ์ จึงเป็นทะเลทุกข์ของคนทุกชั้นวรรณะ ความรู้
และ ปัญญา จึงแบ่งแยกได้ตรงนี้ มนุษย์ที่มีความต่างในบุญวาสนา บ้างเกิดมาดี บ้างเกิดมาลำบากยากเข็ญ แต่เมื่อมีอารมณ์เข้าครอบงำก็สามารถกระทำผิดได้ทันทีเท่าเทียมปัน
ท่านศาสดาเหลาจื้อ จึงสอนให้บำเพ็ญ ธาตุน้ำธาตุน้ำมีแต่ความเยือกเย็นสงบ ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ชะล้างทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ถือตัว และเข้าสู่ภาชนะใด ก็จะอยู่ในรูปลักษณ์ของภาชนะนั้น ๆ
ธาตุน้ำอวัยวะภายในของคนอยู่ที่ตำแหน่ง ไต มีหน้าที่ขับของเสียในเลือด พืชที่เป็นอันตรายต่อไตเมื่อบริโภคมาก คือ หัวหอม ส่วนสีของพืชที่เป็นคุณกับ ไต คือสีดำ เช่น ถั่วดำ เป็นต้น รสชาติที่เป็นอันตรายต่อไต คือ รสเค็ม
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญ ปัญญาธรรม กล่าวว่า “รักเรียนจึงได้ปัญญา”
อักษรจีนคำว่าปัญญา 智 อ่านว่า จื้อ ประกอบด้วยอักษณสามตัวคือ
天 เทียน หมายถึง ฟ้า หรือสวรรค์
口 โข่ว หมายถึง ปาก
日 ยื่อ หมายถึง ดวงอาทิตย์หรือแสงสว่าง
ถ้านำอักษรทั้งสามมาแปลรวมกันความหมายแห่งปัญญา ปัญญาเปรียบประดุจแสงสว่าง ส่องให้พ้นจากความมืด ( คือความหลง) มีอานุภาพดุจดังฟ้า คือมีอานุภาพมาก สามารถพาตัวไปถึงสวรรค์ได้ การแสดงปัญญาทางหนึ่งเป็นการใช้วาจา (ปาก) นั่นเอง
การบำเพ็ญปัญญา คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์รู้จักแยกแยะเหตุผล จึงมีสติ คำโบราณกล่าวไว้ว่า “คนที่เร่งรีบขาดสติ น้ำที่ไหลเชี่ยวย่อมไม่มีปลา” หรือ “เมื่อเรียนต้องเงียบ เมื่ออยากได้วิชาจำต้องเรียน ไม่เรียนย่อมไม่ได้วิชาไม่เงียบย่อมไม่รู้เรื่อง” ดังนั้น ความเงียบก่อเกิดปัญญา ใช้วาจาในที่ควรเมื่อคนเราเกิดมาจากท้องแม่ ไร้เดียงสาบริสุทธิ์ เราไม่รู้อะไรเลย ต่อมาเมื่อผ่านการอบรมสั่งสอน จึงมีความรู้ขึ้น
และความรู้ที่ว่านี้เป็นความรู้ที่เกิดมาหลังกำเนิด ต้องผ่านการฝึกฝน ปฏิบัติ จึง รู้และเข้าใจ ปัญญาก็ก่อเกิด มีสติ รู้เหตุรู้ผลรู้ดีรู้ชั่ว ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ รู้ระงับอารมณ์ฉันทะต่าง ๆ ได้ ผู้ที่ปล่อยจิตปล่อยใจให้อารมณ์ครอบงำจนสูญสิ้นปัญญาอยู่บ่อย ๆ ย่อมสร้างภพชาติของสัตว์เดรัจฉานให้ตน
เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งติดอายตนะรูป ธรรมญาณออกทางตา ย่อมไปเกิดเป็นสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งมีปัญญารู้จักสร้างรังของตนเองอย่างสวยงาม แต่ถ้าเคยชินด้วยยาเสพติดเพราะติดกลิ่น ธรรมญาณออกทางจมูก และไปเกิดเป็นมด ปลวก แมงมุม สัตว์เหล่านี้ มีปัญญาในการรู้จักสะสมอาหารดักจับสัตว์อื่น
การบำเพ็ญทางปัญญาธรรม ให้ กาย และ จิต อยู่ในทางสายกลางเป็นการปฏิบัติตรงสัจธรรมแห่งฟ้าดิน ให้มีปัญญาทั้งทางโลก และทางธรรม ทางโลก ก็สามารถมีความสุขได้ในทุกสภาวะ ทางธรรมก็สามารถพาตนเองพ้นจากทะเลทุกข์แห่งวัฏสงสาร ความรู้ที่กว้างขวาง ย่อมมาจากการเรียน
รู้ ปฏิบัติ ฝึกฝน และเข้าใจ และมีความขยันหมั่นเพียรไม่ว่าจะเกิดมาโง่ หรือ ฉลาด ขอเพียงมีความอดทนหมั่นเพียร ที่สุดย่อมถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกัน
ห้ามดื่มสุรา สามารถอนุรักษ์ปัญญา
คงธาตุน้ำที่ใสสะอาด ใช้เหตุและผล ดังน้ำที่ไหลซอกไปทั่ว