มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยมีจิตญาณดำรงอยู่ ชีวิตอยู่ได้ด้วยความสงบสุข การดำรงชีพจึงจะสูงค่า การกำหนดชีวิตมีหลากหลายวิธี ข้อมูลเหล่าหนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งเพื่อนำเสนอแด่ท่านทั้งหลาย
อย่าได้เลี่ยง แม้ทำดี เพียงน้อยนิด อย่าได้คิด ตัณหาน้อย แล้วไม่คุม
ได้รับคุณ ต้องหาทาง ทดแทนคุณ ก่อนจะสูญ หรือเกิดภัย จงป้องกัน
หากทารุณ นั่นคือไร้เมตตา หากโลภะ คือไร้ มโนธรรม
ขาดจริยา นั่นคือ คิดเหยียดหยาม จิตต่ำทราม ไร้ปัญญา คือหลอกลวง
ความคิดชั่ว เมื่อเกิด จงระงับ บ้าระห่ำ จงปรับ แปรแก้ไข
จิตวุ่นวาย คือจิต ที่เหลวไหล จิตสงบ คือจิตใส ใจแท้จริง
ได้หรือเสีย อย่าให้ กวนใจหนา เกียรติยศถา อัปยศ ใจอย่าสั่น
อันวาจา ไร้คุณค่า อย่ากล่าวขาน ไม่ทำการ ปราศจาก คุณประโยชน์
สุขภาพ วัฒนา มาที่หนึ่ง กายนี้พึง ไร้โรคภัย บ่มเพาะหนา
เรียนรู้เยี่ยง อริยา อิสระ พบการใด ใช้ปัญญา มาแยกแยะ
ในความนิ่ง มีสัทธรรม อันแยบยล ได้สมาน คือเลี้ยงญาณ บ่มเพาะจิต
ในโลกนี้ สิ่งล้ำค่า คือชีวิต สิ่งที่ผิด น่าเวทนา คือฆ่าเขา
ญาณคือจิต จิตคือญาณ รวมสมาน อันลมปราณ พลังธาตุ คือชีวิต
อย่าให้ญาณ วิ่งพล่าน ไกลจากจิต พลังธาตุ ชีวิต จักสงบ
ที่มา : ท่านเกาเหลียน (จูนเซิงปาเจียน) แห่งยุคสมัยหมิง
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :
ธาตุทั้ง 5 ต่างมีมุมกลับอีกด้านที่สวนกัน เราควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และควบคุมให้พอเหมาะ เพื่อให้สำแดงด้านดีหลีกเลี่ยงด้านลบ ธาตุไม้ ด้านบวก เมตตา กรุณาใจกว้างอารีเป็นคุณสมบัติของเมตตา ...
โจร ทำลายกายใจโดยไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่รู้ตื่นแล้วยังคิดว่านั่นเป็นการเสพสุข ก็เท่ากับไม่รู้ว่าไฟได้ไหม้ถึงคิ้วแล้ว ติดตามเราอยู่ทุกขณะเวลา ข้อที่ 1. สุรา อยู่ใกล้สุรา มีหรือจะไม่มีความผิดบาป ...
ใจคือจุดก่อเกิดกำเนิดหมื่นธรรมขันธ์ จึงควรที่จะเรียนรู้ต่อการทำในสิ่งที่มีคุณประโยชน์ ก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ดี ข้อที่ 1. ญาณแห่งใจ รู้ว่าคำพูดใดจริงเท็จ รู้เจตนาว่าดีหรือชั่ว รู้ว่าเรื่อง ...
ข้อบกพร่องแห่งการกระทำจะต้องลงแรงเปลี่ยนแปลงจากใจ อย่าให้ได้ คืบคลานยืดยาดเป็นภัยต่อเราอีกต่อไป ข้อที่1. สับสน ปากไวใจร้อน รีบพูด รีบทำ ใจรนกลัดกลุ่ม บัลดาลโทสะง่าย ข้อที่2. ดูแคลน พูดช ...
ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายหรือทางจิตจะต้องเร่งรีบหาหมอวินิจฉัยทำการรักษา เพื่อให้โอสถทำการขจัดโรคภัยให้หมดไป เป็นการไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจ มิเช่นนั้นจะเป็นการทำลายตนเอง ...
124 views