1. เมตตาธรรม

เมตตาธรรม  ( 仁 ) เหยิน

ทำความเข้าใจ ความหมายของคำว่าเมตตากรุณา

เมตตา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกมีความสุข
กรุณา คือ ความต้องการให้สัตว์โลกพ้นทุกข์

ความทุกข์ของสัตว์โลกก็คือ ความทุกข์ของสรรพสัตว์ในโลก จะถือเสมือนหนึ่งเป็นความทุกข์ของตนเอง ความเศร้าเสียใจของสรรพสัตว์ จะถือเป็นเสมือนความเศร้าเสียใจของตนเอง ทุกข์เหมือนกันเศร้าเหมือนกัน ก็คือ ความเห็นใจในทุกข์และเศร้านั้น และจะช่วยหาวิธีให้พ้นจากความทุกข์โศกเศร้านั้น ๆ

ถ้าพิจารณา “เมตตา” อันเป็นทางสายกลางของศาสดาทั้งสาม ประกอบด้วยพระพุทธเจ้า เหลาจื้อ และขงจื้อ มีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้นเอง คือ
ท่านเหลาจื้อ ให้บำเพ็ญ 木 (มู่) ธาตุไม้
ท่านขงจื้อ ให้บำเพ็ญ 仁 (เหยิน) เมตตา

พระพุทธองค์ ให้รักษาศีล ปาณาติปาตา เว้นจากการเบียดเบียนชีวิต ธาตุไม้ในตัวคน เมตตา ล้วนเป็นสิ่งที่สงบเยือกเย็นเป็นผู้ให้โดยปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้นเมตตาที่แท้จริงจึงประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ

1. ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด ๆ จะเป็นญาติหรือคนที่รักหรือชังล้วนได้รับความเมตตา
2. ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้ว หรือ ล่วงไปนานเท่าใดก็ยังเมตตา
3. ไม่ต้องการค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แม้เมตตาแล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา
4. ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูง ต่ำต้อย ยากไร้อย่างไรก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกัน

ความเมตตาเช่นนี้จึงมีค่า “ค้ำจุนโลก” ได้และมิได้ทำลายสรรพชีวิตใด ๆ เลย มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอกงาม ดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่สรรพสัตว์ทุกชีวิตโดยไม่ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใด ๆ ทุกชีวิตต่างได้รับอากาศ น้ำ อาศัย บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน เมตตาธรรมจึงนำพา “สันติสุข” ต่อตนเองและชาวโลก

ผู้คนที่ขาดเมตตาย่อมส่งร้ายต่อร่างกาย คนที่ไร้เมตตามักเป็นคนเจ้าโทสะ โมโหโกรธา ตับจะถูกกระทบกระเทือน ถ้าตับเสีย ย่อมส่งผลต่อการกรองของเสียออกจากร่างกาย ผู้ที่บำเพ็ญเมตตา จะกำจัดโทสะได้ ย่อมมีผลต่อร่างกายของผู้นั้น หน้าตาผ่องใสแย้มยิ้ม และเพื่อรักษาตับ มิให้กระเทือนรสชาติอาหาร จึงควรหลีกเลี่ยงรสเปรี้ยวจัด คือการดำรงกาย ด้วยวิถีทางสายกลาง เมื่อทั้ง กายและจิต อยู่ในเมตตาธรรม จึงมีพลานุภาพต่อสรรพชีวิตดั่งนี้

ไม่ฆ่า ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต เพราะเรามีเมตตาธรรมคืนสู่ธาตุไม้ คงความเป็นไม้ที่ให้ความร่มรื่น

Leave a Reply