28 กรกฎาคม 2010 thumb 7. จุดเริ่มของการบำเพ็ญคือ ?

พระพุทธจี้กง :

ศิษย์ทั้งหลายพวกเจ้ากราบไหว้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ทุกวัน พวกเจ้ามีปณิธานยิ่งใหญ่ดั่ง พระองค์หรือไม่ ? ศิษย์เอ๋ยลองคิดดูสิว่า การบำเพ็ญต้องเริ่มลงมือจากตรงไหน ? เริ่มจากความจริงใจใช่ ไหม ? เมื่อจริงใจแล้วก็เกิดความเลื่อมใสนับถือ จากนั้นก็เกิดความศรัทธา
ศิษย์เอ๋ย ความจริงใจของพวกเจ้าคงอยู่เสมอต้นเสมอปลายหรือไม่ ? พวกเจ้าจะแสดงความจริงใจ อย่างไร ? จะจริงใจมาก จริงใจน้อยก็ดี อาจารย์เห็นความจริงใจของเจ้าแต่ละคนล้วนเป็นความจริงใจที่เสแสร้ง ใช่หรือไม่ ? แค่มาช่วยงานนิดหน่อย ก็จะต้องมาคิดบัญชีกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว วันนี้เจ้าบริจาคไปเท่าไร โปรด คนไปเท่าไร บรรยายธรรมไปกี่บทแล้ว เจ้าทำความดีไปแค่ไหน ล้วนแล้วแต่เป็นการยึดติดในรูปลักษณ์และ ชื่อเสียง ใช่หรือไม่ ? พวกเจ้าล้วนไม่สามารถใช้อสังขตธรรมในการสร้างคุณงามความดีเลย
การสร้างกุศลที่ยอดเยี่ยม ศักดิ์สิทธิ์สูงส่งที่สุดก็คือ กุศลที่เป็นอสังขตะ เมื่อมีความจริงใจก็ย่อมจะมีความ เลื่อมใส ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เจ้าสามารถทำเพื่อแสดงความเลื่อมใสนับถือพระอาจารย์ได้ แต่เจ้าสามารถให้ ความเคารพเลื่อมใสคนที่น่าสงสาร หรือคนที่ไม่ลงรอยกับเจ้าได้หรือไม่ ? ใครเป็นผู้ที่มีจิตใจงดงามที่สุดในใต้ หล้า ? พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นั่นเอง พระองค์ทรงมีความเคารพนบนอบต่อเวไนย์ทั้งหลาย เปรียบประดุจ บิดรมารดา ใส่ใจเสมือนบุตรธิดาของตนเอง
สมมติว่าบ้านเจ้าไฟไหม้ เจ้าก็ต้องช่วยลูกของตัวเองก่อนหรือว่าเจ้าจะช่วยลูกของคนอื่นก่อน ? นอก จากนี้หากอาจารย์ถ่ายทอดธรรมอยู่ที่บ้านของเจ้า เจ้าจะช่วยใครก่อน ? เอาหล่ะ เจ้าอาจจะมีความเคารพนับ ถืออาจารย์ถ่ายทอดธรรม แต่เจ้าสามารถแสดงความเคารพนับถือยายแก่ที่อยู่ริมทางนั่งน้ำลายไหล น้ำมูกย้อย ได้หรือไม่ ? น่ากลัวคงต้องคิดกันนาน ใช่ไหม ?
ต่อมา พวกเจ้าสามารถเกิดความศรัทธาต่อปณิธานที่ตนเองตั้งไว้หรือไม่ ? ศิษย์ทั้งหลายหากเจ้า สามารถทำได้อย่างที่เจ้าพูดต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายแล้วหล่ะก้อ อนาคตย่อมจะได้กลับ คืนสู่สวรรค์ชั้นนิพพาน หลุดพ้นการเกิดตายแน่นอน ศิษย์เอ๋ย พวกเจ้าจะเชื่อมั่นในคำพูดเหล่านี้ไหม ? ขณะเดียวกัน พวกเจ้าจะเกิดความเชื่อมั่นในคำพูดของนักบรรยายที่ว่า “จะต้องบำเพ็ญให้ดี บรรพชนเจ็ดชั้น ลูกหลานเก้าชั่วโคตรจะได้รับรัศมีธรรม” นี้หรือเปล่า ?
ย้อนกลับไปคิดถึงตอนที่ผู้แนะนำ ผู้รับรองโปรดพวกเจ้ามา พวกเขาพูดถึงประโยชน์ของการรับธรรม มากมาย ในตอนนั้นเจ้ามีความเชื่อมั่นศรัทธาหรือไม่ ? ดังนั้น วันนี้ก็ต้องการให้พวกเจ้าล้วงเอาความศรัทธา มั่นคงนี้ออกมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อคำพูดของพระพุทธะ ต่อปณิธานของเจ้าเอง และพระสูตรต่าง ๆ พวกเจ้าจึงจะสามารถน้อมนำไปปฏิบัติตามได้
ปณิธาน ๑๐ ข้อที่ ๑ ว่าอย่างไร ? ศรัทธามั่นคง ศิษย์ทั้งหลายพวกเจ้ามีความศรัทธามั่นคงหรือไม่ ? ความศรัทธาในข้อที่ ๑ นี้คือความศรัทธาในธรรม รักษากุศลจิตของพวกเจ้าเอาไว้ให้ดี รักษาจิตศรัทธาของ เจ้าไว้ให้ได้ รักษาความคิดที่วิสุทธิ์สงบ จากนั้นจึงจะสามารถบำเพ็ญด้วยความจริงใจได้ จึงจะรู้สำนึกผิดได้ เมื่อเจ้ามีความเลื่อมใส เจ้าจึงจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง และบังเกิดความเชื่อมั่น ทำให้ไม่มีจิตเจตนา อื่นใดซ่อนเร้นที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เสแสร้ง จากนั้นก็จะมีความวิริยะไม่ถดถอย ใช่หรือไม่ ? ดังนั้น ความ จริงใจ เลื่อมใสและศรัทธาจึงเป็นสัจจะแท้จริงในการปฏิบัติตามปณิธาน ๑๐ ของพวกเจ้าทั้งหลาย
จงจดจำคำพูดของอาจารย์ให้ดี บำเพ็ญธรรมต้องมีความจริงใจ เลื่อมใส และศรัทธา หากพวกเจ้าไม่เกิด จิตท้อแท้กลางครันแล้วหล่ะก้อ เจ้าก็ไม่ต้องกลัวหมู่มารทั้งผองเลย

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :

  • พระพุทธจี้กง : หวังว่าเมื่อมีชั้นประชุมธรรมศิษย์ทั้งหลายจะมาเข้าร่วม หากสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนี้มีสักประโยค สองประโยคที่สามารถทำให้พวกเจ้าหลุดพ้นได้หล่ะก้อ นับว่าเป็นที่น่ายินดีแล้ว ดังนั้ ...

  • พระพุทธจี้กง : มนุษย์เอ๋ย ตอนอายุยังไม่ถึงสามสิบก็นอนไม่ตื่น หลังอายุสามสิบไปแล้ว ก็นอนไม่หลับ เพราะอะไร ? เพราะว่าเครื่องพันธนาการนี้มันหนักอึ้ง คนเราไม่อยากออกบวช แต่ก็ต้องบำเพ็ญธรรม พอพูดถึง ...

  • พระพุทธจี้กง : ในภาวะที่จิตใจเจ้าหวาดกลัวไม่เป็นสุขนั้น ต่อให้เจ้ามีทองคำหมื่นตำลึงก็ไม่สามารถนำความสุขมาสู่ ตัวเจ้าได้ ใช่หรือไม่ ? ถึงเวลานั้นก็ร้อนรนเหมือนไฟสุม เจ้าจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลาย บารมีธรรมของพวกเจ้าในยามที่อยู่กับบ้านเป็นเช่นไร ? อาจารย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พวกเจ้าหลอกอาจารย์ไม่สำเร็จหรอก ดังนั้น มนุษย์นี้ต่างก็เสแสร้งหลอกลวงกัน เวไนย์ทั้งหลา ...

  • พระพุทธจี้กง : ศิษย์เอ๋ย ! การบำเพ็ญธรรมจะต้องรู้จักคำว่า “เห็นใจ” มิใช่สักแต่ใช้ “ใจ” ไปพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจะต้องใช้สิ่งใดเพื่อให้ตนรู้ตื่นเล่า? นั่นคือ “จิตญาณ” ใช่หรือไม่ ? ในร่าง ...

1,362 views

Leave a Reply