พระพุทธจี้กง :
มนุษย์เอ๋ย ตอนอายุยังไม่ถึงสามสิบก็นอนไม่ตื่น หลังอายุสามสิบไปแล้ว ก็นอนไม่หลับ เพราะอะไร ? เพราะว่าเครื่องพันธนาการนี้มันหนักอึ้ง คนเราไม่อยากออกบวช แต่ก็ต้องบำเพ็ญธรรม พอพูดถึงบำเพ็ญธรรมพวกเจ้าก็คิดถึงอักษร ๔ ตัว สี่ตัวไหนกัน ? “มหาภูติ (ธาตุ) ๔” ล้วนเป็นความว่างใช่ไหม ? ว่างที่ตรงไหน ? ละทิ้งครอบครัวหน้าที่การงานหรือ ? ละทิ้งครอบครัวไหนกัน ? ตื่นกันได้แล้ว สิ่งที่ต้องละทิ้งก็คือเครื่องพันธนาการนั่นเอง
มิใช่ว่าต้องออกบวช ตัดขาดจากโลกภายนอกแล้ว จึงจะเรียกว่าบำเพ็ญปฏิบัติ คนเราอย่าปิดกั้นตนเอง แต่ก็จำเป็นต้องบำเพ็ญปฏิบัติด้วย จึงจะสามารถทำให้อารมณ์ ๗ ตัณหา ๖ เบาบางลงได้ สลัดความกลัดกลุ้มกังวลและพันธนาการเหล่านี้เสีย
ละทิ้งหน้าที่การงานหรือ ? การละทิ้งครอบครัวหน้าที่การงานก็คือการสลัดต้นเหตุของกรรม ที่ไร้รูปลักษณ์ในจิตใจ ไม่ใช่แบกสัมภาระหนีเข้าวัดไป คนแต่ละคนควรจะละทิ้งคอบครัวหน้าที่การงาน ในรูปแบบไหน จึงจะได้รับความอิสระเสรีทางกาย ทำไมคนเราจึงไม่อิสระเล่า ? เพราะว่าเสาะแสวงหา สิ่งของที่ไม่จีรังยั่งยืนจากภายนอกมากจนเกินไป รู้ทั้งรู้ว่าโลกนี้ไร้น้ำใจ แต่ก็ไม่อยากจะสลัดมันทิ้งไป พวกเจ้าจึงไม่ยอมลืมตามองดูโลก มองดูสัจธรรมกันสักที กลับยอมให้สิ่งที่ไม่จีรังทั้งหลายในโลกนี้ผูกมัด พันธนาการตัวเจ้าเอง ศิษย์เอ๋ย พวกเจ้าจะยอมถูกผูกมัดเช่นนี้หรือ ? หากพวกเจ้ายินยอม พวกเจ้าก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในท่ามกลางความทุกข์ยากกังวล ศิษย์เอ๋ย ตื่นเสียที ! ตื่นขึ้นมาดูกันเถิดมาสิ่งไหนที่ใช่ สิ่งไหนที่ไม่ใช่กันแน่
พวกเจ้าทั้งหลายต่างได้รับการคุ้มครองจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งฟ้าบารมีธรรมพระบรรพจารย์ ศิษย์เอ๋ย สัมผัสรับรู้ถึงบ้างหรือเปล่า ? หรือว่ายังคงมีแต่จิตใจโกรธเคือง ต่อว่าต่อขานโลกใบนี้ ตำหนิติเตียน บิดามารดา โทษว่าญาติมิตร
ทั้งนี้ล้วนเป็นเพราะใจของพวกเจ้าไม่เที่ยงตรง ใจที่ไม่เที่ยงตรงตัวไหนกันที่คอยก่อกวน ? เมื่อเจ้าเกิด ความกลัดกลุ้มขึ้นมา เมื่อเจ้าเกิดความโกรธ ชิงชัง เจ้าควรจะใช้หนึ่งจุด ณ ตรงนั้นที่วิสุทธิ์สงบไปสยบมัน ลองถามตัวเจ้าดูสิว่าได้สำรวมอยู่ ณ ตรงกลางหรือยัง ? สำรวม ณ หนึ่งจุดนั้นหรือยัง ? ทำไมคนเราจึงเวียน ว่ายในคติหกไม่สิ้นสุด ? เป็นเพราะใช้อัตตลักษณ์เป็นศูนย์กลางจิตใจหรือไม่ ? อัตตลักษณ์ก่อให้เกิด บุคคลลักษณ์ บุคคลลักษณ์ก่อให้เกิดเวไนย์ลักษณ์ และก่อเกิดอายุวัฒนลักษณ์ ดังนั้น เครื่องพัธนาการของ ชีวิตจึงเริ่มต้นจากตรงนี้ หากวันนี้สามารถสลัดมันทิ้งไปไได้ เครื่องพันธนาการนี้ยังจะคงอยู่หรือไม่ ? ดังนั้น ขอเพียงเจ้าหยิบเอาสิ่งนี้ออกไป ขจัดอัตตลักษณ์ ลักษณะอื่น ๆ ก็ไม่เกิดตามมา ศิษย์เอ๋ย อาจารย์ได้ช่วยเบิก จุดนี้ออกให้เจ้าแล้วหรือยัง ? หลังจากเบิกจุดนี้ออกแล้ว เจ้าจะต้องทำอย่างไร ? ทำไมคนจึงมีความทุกข์ ? เพราะว่ายึดมั่นถือมั่นกับเรื่องราวต่าง ๆ จดจำความกลัดกลุ้ม ความอาฆาตพยาบาท ความไม่สบายใจ และ ลืมเลือนจิตญาณเดิมที่วิสุทธิ์สงบไป ดังนั้นคนเราจึงใช้ชีวิตด้วยความทุกข์ยาก ไม่มีอิสระเสรี
โลกนี้เป็นโลกที่เปี่ยมไปด้วยกิเลสและความทุกข์มากมาย มีคำครหา มีความกังวล สิ่งเหล่านี้รวมกัน เรียกว่าแดนโลกีย์ และโลกโลกีย์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน ? ล้วนเกิดขึ้นมาจากใจ ใช่หรือไม่ ? ดังนั้น เมื่อ คิดที่จะหลุดพ้นการเวียนว่ายในคติหกนี้ ก็จะต้องหลุดพ้นจากทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วจะเริ่มลงมือจากตรงไหน ? ก็ต้องเริ่มจาก “ตรงนั้น” นั่นแหละ !
หวังว่าทุกคนจะนำกลับไปพิจารณาดู ไม่ว่าจะพูดเข้าไปถึงจิตใจของพวกเจ้าหรือไม่ก็ตาม หวังว่า พวกเจ้าจะใช้ใจไปพิจารณา พวกเจ้ารับธรรมมาหลายปีแล้ว และก็ได้ปฏิบัติมามายมาย แต่ทว่าหากยังไม่ ใช้ใจไปพิจารณาจิตญาณของพวกเจ้าแล้วหล่ะก้อ เจ้าก็ยังอยู่แค่เพียงเปลือกนอกเท่านั้น พึงรู้ไว้ว่า บุญกุศล ไม่สามารถทำให้พวกเจ้าหลุดพ้นเกิดตายได้หรอก แค่ช่วยให้พวกเจ้าลดวิบากกรรมลงเท่านั้นเอง
หากว่าศิษย์ทั้งหลายยังไม่สามารถเห็นหนึ่งจุดนั้นได้อย่างทะลุปรุโปร่งแล้ว เจ้าก็ยังคงตกอยู่ในเครื่อง พันธนาการ อยู่ในภาวะสังขตะ (การปรุงแต่ง) ยังคงตกอยู่ในสังขตธรรม ดังนั้น ศิษย์ทั้งหลายก็ยังคงรู้สึกทุกข์ ยากอยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ได้อุทิศทุ่มเทไปมากมาย ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ขึ้นในจิตใจ หากวันนี้เจ้าเป็นนักบรรยายที่มีชื่อเสียง และเจ้าก็ใช้ตนเองเป็นบรรทัดฐานในการวัดว่าผู้อื่นจะสามารถหลุดพ้น หรือไม่ จะเกิดปัญญาหรือไม่ ตัวเจ้าเองก็จะเกิดการยึดมั่นถือมั่น จากนั้นก็จะเกิดความหยิ่งยโส ทะนงตน นี่ก็คือการตกสู่ภาวะสังขตะ จงจำเอาไว้ ก่อนที่จะไปพิจารณาตัดสินคนอื่น ต้องพิจารณาตนเองเสียก่อน ว่าตัวเจ้าเองได้กลับคืนสู่จุดสุดยอดหรือยัง ? ยังมีขั้นที่สูงกว่าอีกหรือไม่ ? ยังจะต้องปีนต่อไปหรือไม่ ?
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :
พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลายพวกเจ้ากราบไหว้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ทุกวัน พวกเจ้ามีปณิธานยิ่งใหญ่ดั่ง พระองค์หรือไม่ ? ศิษย์เอ๋ยลองคิดดูสิว่า การบำเพ็ญต้องเริ่มลงมือจากตรงไหน ? เริ่มจากความจริงใ ...
พระพุทธจี้กง : หวังว่าเมื่อมีชั้นประชุมธรรมศิษย์ทั้งหลายจะมาเข้าร่วม หากสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนี้มีสักประโยค สองประโยคที่สามารถทำให้พวกเจ้าหลุดพ้นได้หล่ะก้อ นับว่าเป็นที่น่ายินดีแล้ว ดังนั้ ...
พระพุทธจี้กง : ไม่ว่าเรื่องราวใด ๆ ก็ตาม ต้องดูว่าพวกเจ้าใช้จิตใจเช่นไรไปจัดการกับมัน ก่อนที่เจ้าจะตักเตือน ผู้อื่น ก็ต้องคิดถึงหัวอกเขาก่อน เรื่องราวแบบนี้เขาจัดการเช่นนี้ เขาย่อมจะมีเหตุผลส่ว ...
พระพุทธจี้กง : ในภาวะที่จิตใจเจ้าหวาดกลัวไม่เป็นสุขนั้น ต่อให้เจ้ามีทองคำหมื่นตำลึงก็ไม่สามารถนำความสุขมาสู่ ตัวเจ้าได้ ใช่หรือไม่ ? ถึงเวลานั้นก็ร้อนรนเหมือนไฟสุม เจ้าจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม ...
พระพุทธจี้กง : สิ่งที่อาจารย์พูดมานั้น เป็นเรื่องการเกิดตายที่ขึ้นอยู่กับตนเอง ตนเองจะต้องเป็นผู้เข้าถึงการ เกิดตายนี้ คนอื่นไม่สามารถทำแทนเจ้าได้ ขอเพียงถามใจเจ้าเองว่า เจ้าได้ลงมือกระทำหรือยั ...