พระพุทธจี้กง :
ศิษย์เอ๋ย ! การบำเพ็ญธรรมจะต้องรู้จักคำว่า “เห็นใจ” มิใช่สักแต่ใช้ “ใจ” ไปพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจะต้องใช้สิ่งใดเพื่อให้ตนรู้ตื่นเล่า? นั่นคือ “จิตญาณ” ใช่หรือไม่ ? ในร่างกายของพวกเจ้ามีของ สามสิ่งด้วยกัน.. สิ่งแรกคือญาณ สิ่งที่สองคือใจ และสิ่งที่สามคือกาย พวกเจ้าใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไป กับส่วนไหน ? หมดไปกับ “กาย” หรือ ! มิน่าหล่ะฟ้าเบื้องบนจึงต้องจุติหลักธรรมลงมา เมื่อใช้อยู่กับกาย ก็จะต้องเลือกที่จะเคลื่อนไหวกระทำใช่หรือไม่ ? หากว่าไม่มีลมหายใจ ยังจะสามารถเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ? ไม่ได้แน่นอน ! ฉะนั้นสิ่งใดที่คอยควบคุมการเคลื่อนไหวของเจ้า ? ใจกับญาณ พวกเจ้าใช้ เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับส่วนใด ? ใจกับญาณ ยังแยกแยะไม่ชัดเจนเลย ใช่หรือไม่ ?
ลองคิดดู ยามปกติที่พวกเจ้ามองดูผู้อื่น มองดูเรื่องราวต่างๆนั้นใช้อะไรมองล่ะ ? ใช้ดวงตามองหรือว่า ใช้ญาณมองหล่ะ ? ตั้งใจพิจารณาดูซิ ! ยังคลำไม่เจอ ใช่หรือไม่ ?
ดังคำที่กล่าวว่า “เห็นญาณจากอักษร” พวกเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วหรือยัง ? ขณะที่เจ้าเห็นอักษรคำว่า “ตถาคต” นั้น เจ้าคิดถึงสิ่งใด ? ทำให้คิดถึงพระพุทธเจ้าที่เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธใช่หรือไม่ ? พระตถาคต เป็นกรรมสิทธิ์ของพระพุทธศาสนาหรือ ? แล้วในตัวของพวกเจ้ามีองค์ตถาคตหรือไม่ ? “ตถาคต” ก็หมายถึง จิตญาณแห่งปัญญาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือจิตญาณของเรานั่นเองที่สามารถก่อเกิดสติปัญญาขึ้นมาได้ ฉะนั้น คำนามนี้จึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์การค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นอักษรคำว่า ตถาคตก็ทำให้นึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาทันที แล้วตัวตนของพวกเจ้าก็คือพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ ? เป็นพระ ศาสดาของพุทธศาสนาใช่หรือไม่ ? ฉะนั้น ตถาคตจึงหมายถึงผู้ที่มีศีล สมาธิ จึงจะเกิดปัญญาได้ หากคน ๆ หนึ่งสามารถสำรวมอยู่ ณ จิตญาณตนโดยไม่หวั่นไหว เจ้าก็คือพระพุทธะ คือองค์ศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา แล้ว
การสวดมนต์เป็นการสวดอะไร ? เวลาสวดเจ้าได้ย้อนพิจารณาตนเองหรือไม่ ? เจ้าทั้งหลายกราบ ไหว้พระเช้าเย็น กราบไหว้เป็นพิธีเท่านั้นหรือ เคยลองย้อนพิจารณาตนเองหรือไม่ ? มองเห็น พระตถาคตของตนเองหรือยัง ? เห็นพระไมเตรยะพุทธเจ้าหรือยัง ? หรือว่าสักแต่สวดพอเป็นพิธีเท่านั้น ! สำนึกขอขมา สำนึกขอขมา สวดท่องบทใน “สำนึกขอมาละบาปสูตร” จนจำได้ขึ้นใจแล้ว แต่เจ้ารู้หรือไม่ว่า เจ้ากำลังใช้จิตญาณหรือใจ หรือปากในการสวดมนต์กันแน่ ? เจ้าต้องการจะละบาปแล้วจะใช้สิ่งใดละบาปเล่า? หากไม่ตื่นรู้ก็จะไม่สามารถละได้ สัตว์โลกก็ยังคงเป็นสัตว์โลก ทะเลทุกข์ไม่มีขอบเขต ! บาปกรรมก็ยังคง นำพาให้เจ้าวนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์ ถ้าเจ้าไม่ตั้งใจแล้วจะเห็นถึงจิตญาณได้อย่างไรกัน ?
ดังนั้น ทุกวันนี้พวกเจ้าก็ยังคงใช้ใจปุถุชน ใจเลือดเนื้อนี้อยู่มิใช่หรือ ? แล้วใจเลือดเนื้อก้อนไหนเล่า ? มนุษย์ต่างจากสัตว์เดรัจฉานก็เพราะมนุษย์สามารถค้นหาสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจได้ แต่ละคนต่างก็เสพสุข ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ใช่หรือไม่ ? หากไม่สุขสบายเมื่อใด จิตใจก็ไม่สามารถสงบร่มเย็นได้ ! ดังนั้น ทุกครั้งที่อาจารย์มาหา ก็มักจะถามไถ่ว่าศิษย์เมธีทั้งหลายว่าสบายดีหรือไร ? จิตใจของพวกเจ้าสงบหรือยัง ? อารมณ์ปกติดีหรือไม่ ? จิตใจและสติสัมปชัญญะของพวกเจ้าอยู่ในสภาวะสมดุลอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ? มีการรักษาความสมดุลอยู่ไหม๊ ? หากยังไม่สมดุลก็ขอให้รีบปรับเปลี่ยนจิตใจส่วนที่ยังไม่เที่ยงตรงของพวกเจ้า เสีย
ใจมนุษย์มีความไม่เที่ยงตรง ๔ ประการคืออะไรบ้าง ? จิตมีโทสะ รักความสนุกสนาน มีความกังวล มีความหวาดกลัว ใช่หรือไม่ ? สิ่งเหล่านี้มาจากไหน ? พวกเจ้าลองคิดดู พวกเจ้าใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขทุกวัน เป็นเพราะสิ่งเหล่านี้มันผูกมัดพวกเจ้าอยู่ใช่หรือไม่ ? พวกเจ้าบำเพ็ญธรรมได้สลัดสิ่งเหล่านี้ออกไปหรือไม่ ? หากว่าไม่แล้วหล่ะก้อ การบำเพ็ญธรรมของเจ้าคงย่ำแย่น่าดู ?
การบำเพ็ญธรรมจะต้องสลัดเหตุรุมเร้าจากภายนอก คลื่นจิตเหล่านี้จะรบกวนจิตญาณของเจ้า แล้ว ทำไมพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์จึงไม่ถูกรบกวนเล่า ? นั่นเป็นเพราะว่าท่านเหล่านั้นสามารถสำรวม ณ ตรง กลางได้นั่นเอง ! การสำรวมหนึ่งจุด ณ ตรงกลางนั้น ก็เท่ากับว่าได้ปรับสมดุล ณ จุดๆนั้น พวกเจ้าเคยสำรวม ณ ตรงกลางนั้นหรือไม่ ? สำรวมอย่างไร ? สำรวมแบบคนตาเหล่หรืออย่างไร ? สำรวมอย่างไร ? ทำได้หรือยัง?
ฉะนั้น เมื่อพูดถึงการบำเพ็ญปฏิบัติแล้วก็จะต้องพูดถึง “ใจ” ต้องเริ่มจากใจก่อน เมื่อพูดถึงใจนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น ใจปุถุชน ใจโกรธแค้น ใจกลัดกลุ้ม …เป็นต้น ส่วนพระพุทธะ และพระโพธิสัตว์นั้นมีใจวิสุทธิ์สงบ ใจเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ใจปราถนาฉุดช่วยให้พ้นจาก ความทุกข์ยาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าพวกเจ้าจะใช้ใจอะไร ดังนั้นคนที่รู้ตื่นในธรรม ก็คือมีใจแห่งปัญญา คนที่ไม่รู้ตื่นในธรรมก็คือมีใจแห่งความกลัดกลุ้มกังวลนั่นเอง
ฉะนั้นคนที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้จะต้องปรับใจ อริยชนต่างปรับใจของตนเองทั้งสิ้น แล้วปุถุชนเล่า ? ปรับแต่ร่างกาย เมื่อพูดถึงใจแล้ว ก็จะต้องใช้ “ญาณ” เพื่อทำความเข้าใจรู้แจ้ง เพราะไม่ใช่ว่าคำนามเหล่า นี้จะสามารถบรรยายลักษณะของมันได้ทั้งหมด “ใจ” คืออะไร ? มันคือสิ่งที่อยู่เหนือชื่อเสียงเรียงนามทั้งหมด รวมทั้งสิ่งที่ดีและเลว ใช่หรือไม่ ? สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ มีดีก็ย่อมมีชั่ว มีสูงก็ย่อมมีต่ำ สิ่งเหล่านี้เกิดการแบ่ง แยกขึ้นที่ “ใจ” เมื่อต้องการจะอยู่เหนือสภาวะตรงกันข้ามนี้แล้ว ก็มีแต่ต้องใช้ “ญาณ” จึงจะรู้ตื่นขึ้นมาได้ จึงจะ สามารถอยู่เหนือมันได้ คนเราชอบพูดกันว่าใช้ชีวิตอยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะสักหน่อย แล้วจะทำอย่างไรให้มี สติสัมปชัญญะ จะเอาอะไรมาวัดเป็นบรรทัดฐาน หากคนเรายังยึดมั่นในทัศนคติของตนเอง ก็ย่อมจะคิดว่า ตนเองนั้นมีสติสัมปชัญญะแล้ว ใช่หรือไม่ ? คนทุกคนต่างก็จะพูดว่าตนเองใช้ชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะแล้ว ให้สติสัมปชัญญะอยู่เหนืออารมณ์ และทุกคนก็จะบอกว่าตนเองนั้นแหละคือผู้ที่มีสติสัมปชัญญะที่สุด จึงทำให้ ้เกิดการแก่งแย่งแข่งขันกันมากขึ้นมิใช่หรือ ในเมื่อยังมีการแก่งแย่งแข่งขันกัน นั่นก็แสดงว่าไม่ได้มาตรฐาน แล้ว
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ :
พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลาย บารมีธรรมของพวกเจ้าในยามที่อยู่กับบ้านเป็นเช่นไร ? อาจารย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง พวกเจ้าหลอกอาจารย์ไม่สำเร็จหรอก ดังนั้น มนุษย์นี้ต่างก็เสแสร้งหลอกลวงกัน เวไนย์ทั้งหลา ...
พระพุทธจี้กง : ศิษย์ทั้งหลายพวกเจ้ากราบไหว้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ทุกวัน พวกเจ้ามีปณิธานยิ่งใหญ่ดั่ง พระองค์หรือไม่ ? ศิษย์เอ๋ยลองคิดดูสิว่า การบำเพ็ญต้องเริ่มลงมือจากตรงไหน ? เริ่มจากความจริงใ ...
พระพุทธจี้กง : ในภาวะที่จิตใจเจ้าหวาดกลัวไม่เป็นสุขนั้น ต่อให้เจ้ามีทองคำหมื่นตำลึงก็ไม่สามารถนำความสุขมาสู่ ตัวเจ้าได้ ใช่หรือไม่ ? ถึงเวลานั้นก็ร้อนรนเหมือนไฟสุม เจ้าจะปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม ...
พระพุทธจี้กง : หวังว่าเมื่อมีชั้นประชุมธรรมศิษย์ทั้งหลายจะมาเข้าร่วม หากสิ่งที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดนี้มีสักประโยค สองประโยคที่สามารถทำให้พวกเจ้าหลุดพ้นได้หล่ะก้อ นับว่าเป็นที่น่ายินดีแล้ว ดังนั้ ...
พระพุทธจี้กง : ดังนั้น การรวมกันของ ญาณ ใจ กายนี้ ก็คือ “ศูนยตา” ศูนยตานี้เป็นตัวแทนสรรพสิ่ง ส่วนความว่างเปล่านั้นมิใช่ศูนยตาหรอกนะ ! พวกเจ้ามักจะพูดว่า “จิตใจ จิตใจ” ในขณะที่ใจดวงนี้ยังไม่เกิด ...